รู้จักกับพลาสติก วัสดุที่เจอได้ในชีวิตประจำวัน

รู้จักกับพลาสติก วัสดุที่เจอได้ในชีวิตประจำวัน

พลาสติก คืออะไร ?

พลาสติก เป็น วัสดุที่ได้สังเคราะห์ขึ้น จัดอยู่ใน กลุ่มพอลิเมอร์ โดยคุณสมบัติของพลาสติก คือ สามารถนำมาหลอมขึ้นรูปเป็นรูปร่างต่างๆ ได้ง่าย มีความทนทาน จึงถูกนำมาใช้ประโยชน์หลากหลาย ในหลากหลายอุตสาหกรรม

โดยทั่วไปแล้วพลาสติกจะถูกสังเคราะห์จากปิโตรเคมี เพียงอย่างเดียว แต่ในปัจจุบันนี้ ได้มีการคิดค้นและผลิตจากทรัพยากรหมุนเวียน มากขึ้น อาทิเช่น ข้าวโพด หรืออ้อย เป็นต้น

ความเป็นมาของพลาสติก

พลาสติกสังเคราะห์นั้น ถูกค้นพบในปี ค.ศ. 1907 โดย Leo Baekeland ที่เมืองนิวยอร์ค ประเทศสหรัฐอเมริกา และได้มีการค้นคว้าและศึกษาต่อด้วยนักเคมีอีกหลายท่าน เช่น Hermann Staudinger ผู้ได้รับการยกย่องว่าเป็นบิดาแห่งเคมีพอลิเมอร์ และ Herman Mark ผู้ได้รับการยกย่องว่าเป็นบิดาแห่งฟิลิกส์พอลิเมอร์

พลาสติก นั้น เริ่มได้รับการนิยมและใช้งานอย่างแพร่หลาย ตั้งแต่ ศตวรรษที่ 20 และมีการผลิตสูงขึ้นเรื่อยๆ แต่ด้วยคุณสมบัติที่มีความทนทานอย่างมากของพลาสติก ย่อยสลายได้ยาก จึงเริ่มเป็นปัญหากับสิ่งแวดล้อม จึงได้เริ่มคิดค้นหาวิธีในการแก้ไขปัญหาดังกล่าว ทั้งการรีไซเคิ่ลพลาสติก กลับมาใช้ซ้ำ และรณรงค์ให้ลดการใช้พลาสติก

ชนิดของพลาสติก

พลาสติกนั้นยังแบ่งได้อีกเป็น 2 ประเภทใหญ่ ๆ และยังมีอีกหลากหลายชนิด แบ่งแยกตามการผลิต ส่วนประกอบ และคุณสมบัติ

1. เทอร์โมพลาสติก (Thermoplastic)

เทอร์โมพลาสติก (Thermoplastic) หรือเรซิน เป็นพลาสติกประเภทที่ใช้งานอย่างแพร่หลายที่สุด เพราะสามารถเปลี่ยนรูปได้ง่าย โดนความร้อนจะเกิดการอ่อนตัว และเย็นลงก็จะแข็งตัว

โครงสร้างของพลาสติกชนิดนี้จะมีโครงสร้างเป็นโมเลกุลเป็น แบบโซ่ตรงยาว มีการเชื่อมต่อระหว่างโซ่พอลิเมอร์น้อยมาก สามารถหลอมเหลวได้ แต่เมื่อผ่านแรงอัดจะไม่ทำลายโครงสร้างเดิม สามารถนำมาหลอมและกลับมาใช้ใหม่ได้ ชนิดของพลาสติกชนิด เทอร์โมพลาสติก มีดังนี้

1.1 พอลิเอทิลีน (Polyethylene : PE)

เป็นพลาสติกที่มีลักษณะขุ่น ทนความร้อนได้พอสมควร ไอน้ำสามารถซึมผ่านได้เล็กน้อย อากาศผ่านเข้าออกได้ เป็นพลาสติกที่สามารถพบได้บ่อยในอุตสาหกรรม โดยมักจะนำมาผลิตเป็น ท่อน้ำ ถัง ขวด ท่อร้อยสายไฟ เป็นต้น

1.2 พอลิโพรพิลีน (Polypropylent : PP)

เป็นพลาสติกที่มีความแข็งกว่า พลาสติกชนิด โพลีเอทิลีน (PE) มีคุณสมบัติ ทนต่อสารไขมัน และความร้อน ไอน้ำสามารถซึมผ่านได้เล็กน้อย โดยมักจะนำมาผลิตเป็น วัสดุบรรจุอาหาร หลอดดูดอาหาร เป็นต้น

1.3 พอลิสไตรีน (Polystyrene : PS)

เป็นพลาสติกที่มีลักษณะโปร่งใส ทนต่อกรดและด่าง ไอน้ำและอากาสซึมผ่านได้พอสมควร แต่มีความเปราะ โดยมักจะนำมาผลิตเป็น เครื่องใช้สำนักงาน อุปกรณ์ไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์

1.4 SAN (Styrene Acrylonitrile)

เป็นพลาสติกที่มีลักษณะโปร่งใส มีความเหนียว ทนทาน ทนต่อความร้อนสูง โดยมักจะนำมาผลิตเป็น เครื่องใช้ไฟฟ้า ชิ้นส่วนยานยนต์

1.5 ABS (Acrylonitrile Butadiene Styrene)

เป็นพลาสติกที่มีลักษณะคล้ายกลับพลาสติกชนิด SAN แต่มีความสามารถในการทนต่อสารเคมีได้ดีกว่า มีความโปร่งแสง เหนียวกว่า ยืดหยุ่นได้ดี โดยมักจะนำมาผลิตเป็น ข้อต่อต่างๆ หมวกกันน็อค ใช้กับเครื่องพิมพ์ 3D

1.6 พอลิไวนิลคลอไรด์ (polyvinylchloride : PVC)

เป็นพลาสติกที่มีคุณสมบัติ ป้องกันไขมันได้ดี ไอน้ำและอากาศไหลซึมได้พอสมควร นำมาใช้ในอุตสหากรรมได้หลากหลาย มักจะนำไปผลิตเป็น ฟิล์มถนอมอาหาร ขวด สายยาง กระเบื้องยาง ท่อประปา กรวยจราจร เป็นต้น

1.7 ไนล่อน (Nylon)

ไนล่อน หรือพลาสติกชนิด PA เป็นพลาสติกที่มีคุณสมบัติที่มีความทนทานเป็นอย่างมาก มีความเหนียว ทนอุณหภูมิ ขึ้นรูปได้ง่าย ทนต่อการสึกหรอได้ดี โดยมักจะนำไปใช้ในการผลิต เฟอร์นิเจอร์ อุปกรณ์กีฬา เคเบิ้ลแกลนพลาสติก เป็นต้น

1.8 พอลิเอทิลีนเทเรฟทาเลด (Polyethylene Terephthalate : PET)

เป็นพลาสติกที่มีคุณสมบัติคือ มีความใส เหนียว ทนทาน ยืดหยุ่นต่อการกระทบกระแทก โดยมักจะนำมาผลิตในอุตสาหกรรมที่หลากหลาย เช่น วัสดุบรรจุอาหาร ขวด แผ่นฟิล์ม

1.9 พอลิคาร์บอเนต (Polycarbonate : PC)

เป็นพลาสติกที่โปร่งใส่ แข็ง ทนแรงยืดและแรงกระแทกได้ดี ทนความร้อน ทนกราด แต่ไม่ทนด่าง โดยมักจะนำมาผลิตเป็น จาน ชาม ขวดนม

2. เทอร์โมเซตติ้งพลาสติก (Thermosetting Plastic)

เป็นพลาสติกที่มีคุณสมบัติพิเศษ มีโมเลกุลที่แข็งแรงมาก ไม่สามารถหลอมเหลวได้ สามารถทนทานต่อการเปลี่ยนแปลงอุณหภูมิและทนต่อปฎิกิริยาได้ดี เกิดคราบและรอยเปื้อนได้ยาก เมื่อเย็นตัวลง จะมีความทนทาน แข็งมาก ไม่อ่อนตัว เปลี่ยนรูปร่างไม่ได้ แต่จะแตกและไหม้เมื่อโดนความร้อนถึงระดับหนึ่ง ชนิดของพลาสติกชนิด เทอร์โมเซตติ้งพลาสติก มีดังนี้

2.1 เมลามีน ฟอร์มาลดีไฮด์ (Melamine Formaldehyde)

เป็นพลาสติกชนิดที่ทนความร้อนชนิดแข็ง สามารถขึ้นรูปได้ภายใต้อุณหภูมิสูง เป็นวัสดุที่ไม่สามารถรีไซเคิลได้ ไม่ควรใช้งานที่อุณหภูมิเกิน 60°C ไม่สามารถเข้าไมโครเวฟได้ โดยมักจะนำมาผลิตเป็น ช้อนส้ม ตะเกียบ จานชาม แผ่นไม้ปูพื้น กระดานไวท์บอร์ด เฟอร์นิเจอร์

2.2 ฟีนอลฟอร์มาดีไฮด์ (Phenol Formaldehyde)

เป็นพลาสติกที่มีความแข็งและอยู่ตัว ตัวเนื้อมีความคงตัว ทนทานต่อการผุกร่อน เป็นฉนวนไฟฟ้า และทนความร้อนได้สูง โดยมักจะนำไปใช้ในการทำปลอกหุ้มคอยล์รถยนต์ หูกระทะ ด้ามมีด ลูกบิลเลียด สารเคลือบผิว

2.3 อีพ็อกซี (Epoxy)

เป็นพลาสติกที่มีความแข็งแรงทนทานเป็นอย่างมาก ทนต่อแรงการขูดขีด แรงกระแทก ไม่คืนรูป แต่ไม่สามารถนำมารีไซเคิลได้ และยังพบว่ามีสารที่มีความเป็นพิษต่อร่างกาย จึงไม่เหมาะในการนำมาผลิตเป็นผลิตภรรณ์ที่บรรจุอาหาร โดยอีพ็อกซี มักจะนำมาผลิตเป็น สารที่ใช้ยึดติดกับอุปกรณ์ เช่น ไม้ เหล็ก เป็นสารที่ใช้เคลือบผิว และเคลือบเพื่อเป็นฉนวนไฟฟ้า ในการผลิตมอเตอร์

2.4 โพลีเอสเตอร์ (Polyester)

เป็นพลาสติกชนิดที่ได้ถูกสร้างขึ้นมาทดแทนการใช้เส้นใยธรรมชาติ ด้วยคุณสมบัติที่มีความทนทาน เหนียว ทนต่อสารเคมี ระบายอากาศได้ดี เป็นพลาสติกที่สามารถย่อยสลายได้ สามารถนำมารีไซเคิลกลับมาใช้ใหม่ได้ จึงเป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม โดยมักจะใช้นำไปใช้ในการผลิตเส้นใย นำมาผลิตเสื้อผ้า ชุดกีฬา ชุดสูท กระเป๋า รองเท้า เป็นต้น

2.5 โพลียูริเทน (Polyurethane)

โพลียูริเทน หรือ PU เป็นพลาสติกที่มีคุณสมบัติที่มีความเหนียว แข็ง หนาแน่น แต่สามารถติดไฟได้ง่าย จึงควรใช้อย่างระมัดระวัง และอาจปล่อยแก๊สพิษเมื่อติดไฟอีกด้วย ดังนั้นไม่ควรใช้กับวัตถุไวไฟ โดยมักจะนำไปผลิตเป็น ส่วนประกอบของเตียง อุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ เครื่องแต่งกาย อุปกรณ์ทางการแพทย์บางชนิด

ที่มา : wikipedia