พูดได้ว่าไฟฟ้าเป็นสิ่งอำนวยความสะดวกอีกชนิดหนึ่งที่แทบทุกบ้านจะขาดไม่ได้ ด้วยอุปกรณ์เครื่องมือ เครื่องใช้ในปัจจุบันมีมากมายที่ใช้ไฟฟ้า ดังนั้นการรู้ถึงระบบไฟฟ้าภายในบ้านจึงมีความสำคัญ โดยเฉพาะผู้ที่ต้องการติดตั้งระบบไฟฟ้าภายในบ้าน อาคาร หรือโรงงานอุตสาหกรรมใหม่ ๆ
หลักการติดตั้งอุปกรณ์ไฟฟ้าภายในบ้าน มีอะไรบ้าง
1. เลือกอุปกรณ์ไฟฟ้าที่มีคุณภาพ มาตรฐาน และความปลอดภัย
การเลือกอุปกรณ์ไฟฟ้า อาทิเช่น สายไฟ ปลั๊กไฟ จะต้องเลือกอุปกรณ์ไฟฟ้าที่มีคุณภาพ หรือได้รับมาตรฐานอุตสาหกรรม อาทิเช่น มอก. เพื่อให้มั่นใจได้ว่าอุปกรณ์ไฟฟ้าที่ได้เลือกมา มีความทนทาน แข็งแรง และปลอดภัยที่จะใช้งาน
2. เลือกอุปกรณ์ไฟฟ้าให้เหมาะสม
การเลือกอุปกรณ์ไฟฟ้า ควรจะเลือกให้เหมาะสมกับการใช้งานของเรา เช่น เลือกขนาดสายไฟให้มีขนาดที่สามารถรองรับการใช้งานภายในอาคารได้ หรือไม่เผื่อเยอะเกินไป รวมถึงการเลือกซื้อให้เพียงพอ ไม่เผื่อมากจนเกินไป เพื่อความประหยัดในการติดตั้ง แต่ก็ต้องคำนึงถึงคุณภาพด้วยเพื่อความปลอดภัย
3. ติดตั้งอุปกรณ์ไฟฟ้าให้ถูกต้องตามมาตรฐานของการไฟฟ้า
การติดตั้งสายไฟฟ้า ควรติดตั้งให้มีความเรียบร้อยสวยงาม เป็นระเบียบ โดยเฉพาะสายไฟ ที่มีความสำคัญเป็นอย่างมาก ดังนั้นสิ่งที่ควรรู้ต่อการติดตั้งสายไฟ มีดังนี้
3.1 การเลือกสายไฟ – นอกจากสายไฟที่ได้เลือกมาจะได้รับมาตรฐานแล้ว สายไฟที่ใช้ติดตั้งภายในอาคาร ควรจะเป็นสายชนิดที่มีฉนวนหุ้ม เพื่อป้องกันอันตรายจากการที่ไปสัมผัสกับสายไฟโดยตรง
3.2 การเดินสายผ่านหนังหรือกำแพง – ในกรณีที่มีการติดตั้งโดยเจาะทะลุผนัง จะต้องมีวัสดุที่ไม่มีคมหุ้มสายไฟไว้ อาทิเช่น ปลอกพลาสติก หรือขอบยาง เพื่อไม่ให้มีสิ่งมีคมไปทำความเสียหายให้กับสายไฟ
3.3 การจับยึดสายไฟ – ในกรณีที่การติดตั้ง เป็นการติดตั้งแบบติดผนัง ควรจะมีอุปกรณ์จับยึดกับผนัง อาทิเช่น เข็มขัดรัดสาย รางไฟ หรือ ท่อร้อยสายไฟ โดยอุปกรณ์ที่นำมายึดสายจะต้องใช้วัสดุที่ไม่ทำอันตรายต่อฉนวนไฟฟ้า สำหรับเข็มขัดรัดสายจะต้องมีระยะในการยึดสายไฟที่เหมาะสม โดยปกติจะไม่เกิน 20 เซนติเมตร สำหรับท่อร้อยสายไฟ จะเป็นอุปกรณ์ที่มักจะ ร้อยในงานพิเศษ เช่นใต้หนัง ใต้เพดาน เพื่อป้องกันความเสียหายต่อสายไฟ
3.4 ห้ามเดินสายไฟซ้อนกัน – การติดตั้งสายไฟ จะต้องเรียงต่อกันเป็นชั้นเดียว ห้ามเดินสายไฟซ้อนกันเป็นอันขาด
3.5 ไม่ควรเดินสายไฟบนพื้นผิวที่อาจจะเป็นอันตรายกับสายไฟได้ เช่น พื้นผิวที่ไม่มีความแข็งแรง
3.6 ควรเก็บงานตามจุดต่อต่างๆ ให้เรียบร้อย – จุดต่อ หรือรอยเชื่อมต่างๆ ถ้าหากมีการติดตั้งที่ไม่ดีพอ ก็เป็นสาเหตุหนึ่งที่ทำให้เกิดไฟช็อต หรือ ไฟฟ้าลัดวงจรได้ ดังนั้นตามจุดรอยต่อต่างๆ ควรติดตั้งให้เรียบร้อยและมีฉนวนไฟฟ้าหุ้มไว้เพื่อความปลอดภัย
4. แยกวงจรไฟฟ้าเป็นระบบย่อย
ไม่ควรติดตั้งระบบไฟฟ้าทั้งหมดทั้งอาคารภายในสวิตช์เดียว ควรแยกวงจรเป็นจุดต่างๆ โดยอาจจะใช้ กล่องพักสายไฟ เป็นตัวแยกวงจรย่อย และสำหรับเครื่องใช้ไฟฟ้าที่มีการใช้ไฟฟ้าเป็นปริมาณมาก อาทิเช่น เครื่องปรับอากาศ ควรจะแยกสวิตช์ต่างหาก และเมื่อมีปัญหาก็สามารถบำรุงรักษาได้ง่ายอีกด้วย
5.เลือกช่างไฟฟ้าที่ไว้ใจได้
สุดท้ายการเลือกช่างไฟฟ้าที่จะเข้ามาติดตั้งระบบไฟฟ้าให้กับเราก็สำคัญเช่นกัน เพราะจะส่งผลถึงต่อความปลอดภัยอีกด้วย
ที่มา : elfit.ssru.ac.th