รางกระดูกงูเป็นอุปกรณ์สำหรับในการติดตั้งกับเครื่องจักรชนิดหนึ่ง ซึ่งมีหน้าที่ใช้กับส่วนที่จำเป็นจะต้องมีการขยับไปขยับมา ซึ่งตัวรางนี้จะมีไว้สำหรับร้อยสายไฟเข้าไปภายในตัวราง เพื่อป้องกันสายไฟไม่ให้เกิดอุบัติเหตุที่จะเกิดขึ้น เช่น สายไฟพันกันหรือไปเกี่ยวกับอุปกรณ์ในเครื่องจักรชิ้นอื่น หรือสายไฟหลุดจากตำแหน่งที่ติดตั้ง
วิธีการเลือกซื้อรางกระดูกงู
รางกระดูกงูในปัจจุบันมีให้เลือกใช้อย่างหลากหลายยี่ห้อ ซึ่งวัสดุหลักๆ จะเป็นชนิดแบบพลาสติกและแบบโลหะ ที่จะมีคุณสมบัติการทำงานที่แตกต่างกันออกไป แต่ก่อนที่เราจะเลือกซื้อกระดูกงู มาดูถึงสิ่งที่ต้องดูก่อนเลือกซื้อได้จากบทความนี้ได้เลยครับ
รางกระดูกงูคืออะไร ?
รางกระดูกงู (Cable Drag Chain) เป็นอุปกรณ์ชนิดหนึ่ง ที่มีลักษณะคล้ายกับโซ่ประกอบไปด้วยข้อๆ ที่สามารถดัดโค้งงอได้ โดยมักจะถูกนำไปติดตั้งกับเครื่องจักรต่างๆ ที่จำเป็นต้องมีการเคลื่อนไหวในการทำงาน โดยตัวรางสามารถเปิดออกและประกอบเข้าไปใหม่ได้จึงสามารถร้อยสายไฟเข้าไปได้อย่างง่ายดาย
สำหรับหน้าที่ของรางกระดูกงูคือ เป็นอุปกรณ์ที่มีไว้ใช้ในการจัดเก็บสายไฟ สายเคเบิ้ล หรือสายอื่นๆ เข้าไปภายในตัวรางที่ทำการติดตั้งกับเครื่องจักร ทำให้เครื่องจักร สามารถทำงานได้อย่างราบรื่น ลดอุบัติเหตุที่อาจจะเกิดขึ้นจากการเคลื่อนไหวของเครื่องจักร เนื่องจากสายไฟหลุดจากการติดตั้ง พันกัน หรือไปพันกับอุปกรณ์อื่นๆ ของเครื่องจักรที่จะทำให้เกิดอุบัติเหตุและความเสียหาย
1. ขนาดของสายไฟ
สายไฟเป็นส่วนที่สำคัญที่สุด ก่อนที่จะทำการเลือกซื้อรางกระดูกงู เพราะสายไฟจะต้องทำการร้อยเข้าไปภายในตัวราง ซึ่งจะต้องรู้ถึงขนาดของสายไฟ จำนวนของสายไฟ ความโค้งที่ทางสายไฟนั้นรองรับ
2. ขนาดของพื้นที่ติดตั้ง
พื้นที่ติดตั้งมีความสำคัญเป็นอย่างมาก ยิ่งถ้าหากพื้นที่มีจำกัดการเลือกขนาดของรางกระดูกงูก็จำเป็นเป็นอย่างมาก เพราะถ้าเลือกรางที่ใหญ่เกินไปก็ไม่สามารถติดตั้งในพื้นที่นั้นๆ ได้ หรือถ้าเล็กเกินไปก็อาจจะไม่สามารถร้อยสายไฟเข้าไปได้อย่างเพียงพอ
3. วัสดุของรางกระดูกงู
ปัจจุบัน วัสดุที่ใช้ในการผลิตของรางกระดูกงูมีอยู่หลากหลาย ทั้งในแบบพลาสติก และแบบโลหะ เช่น เหล็ก หรือ สแตนเลส ซึ่งการที่จะเลือกใช้ก็จะต้องเลือกตามการใช้งาน เพราะแต่ละวัสดุก็จะมีคุณสมบัติที่แตกต่างกัน ทั้ง น้ำหนัก ความทนทาน การทนต่อการกัดกร่อน รวมถึงราคาอีกด้วย
4.ขนาดของรางกระดูกงู
หลังจากที่ได้ทราบรายละเอียดตั้งแต่ ข้อ 1 – 3 แล้ว ซึ่งทั้ง 3 ข้อจะมีความสัมพันธ์กับขนาดของรางกระดูกงู โดยการค่าจากรายละเอียดสินค้าจะมีค่าที่สำคัญๆ ดังต่อไปนี้
ค่าสูงรวม (H)
ค่าสูงรวม หรือ H เป็นค่าที่วัดความสูงทั้งหมดของตัวรางกระดูกงู โดยวัดจากบริเวณล่างสุดของตัวรางจนถึงขอบบนสุดของตัวราง
โดยค่านี้จะมีผลโดยตรงกับพื้นที่ในการติดตั้ง และควรเผื่อพื้นที่เพิ่มจากค่าความสูงรวมอีกด้วย
ค่าความสูงนอก (Outer Height)
ค่าความสูงนอก (Outer Height) เป็นการวัดค่าจากความสูงของตัวรางกระดูกงูบริเวณนอกตัวราง
ค่าความสูงใน (Inner Height)
ค่าความสูงใน (Inner Height) เป็นการวัดค่าจากความสูงของตัวรางกระดูกงูบริเวณภายในตัวราง โดยค่านี้จะส่งผลต่อขนาดของสายไฟที่จะสามารถร้อยลงไปได้
แต่การร้อยสายไฟเข้าไปไม่ควรใส่จนเต็มของขนาดราง จำเป็นจะต้องเหลือพื้นที่ความสูงประมาณ 2 – 3 มม.ไว้ด้วย เพื่อความปลอดภัยในการใช้งาน
ค่าความกว้างภายนอก (Outer Width)
ค่าความกว้างภายนอก (Outer Width)ค่าความกว้างภายนอก (Outer Width) เป็นค่าที่วัดจากความกว้างบริเวณภายนอกตัวราง มีผลต่อพื้นที่ในการติดตั้ง
ค่าความกว้างภายใน (Inner Width)
ค่าความกว้างภายใน (Inner Width) เป็นค่าที่วัดจากความกว้างบริเวณภายในตัวราง มีผลต่อต่อขนาดของสายไฟที่จะสามารถร้อยลง
รัศมีความโค้ง (Radius)
ค่ารัศมีความโค้ง (Radius) เป็นค่าที่พูดถึงรัศมีความโค้งของตัวราง ซึ่งมีผลต่อการเลือกสายไฟ และควรเลือกรางที่มีรัศมีความโค้งให้มากกว่าความโค้งของสายสัญญาณ เพื่อโอกาสที่สายไฟจะเสียหาย
5.การติดตั้งสายสัญญาณ
การติดตั้งสายไฟหรือสายสัญญาณก็มีความสำคัญ เพราะจะส่งผลทั้งต่อตัวราง และสายไฟ จะต้องดูถึงรายละเอียดต่างๆ ดังนี้ด้วย
ระยะห่างของสายสัญญาณ
การใช้งานจริง การร้อยสายไฟเข้าไปภายในตัวราง จะไม่ได้ร้อยเข้าไปเพียงเส้นเดียว ซึ่งความปลอดภัยในการใช้งาน ควรจะมีระยะห่างของสายไฟแต่ละเส้นด้วย
ไม่ควรติดตั้งสายไฟซ้อนกัน
การติดตั้งสายไฟที่ทับซ้อนกัน ส่งผลให้ในระหว่างทำงาน ตัวสายไฟจะเกิดการเสียดสี ทำให้เกิดความร้อนขึ้นได้ และทำให้สายไฟมีอายุการใช้งานที่สั้นลง
ติดตั้งและกระจายน้ำหนักให้ดี
การที่เราติดตั้งและวางสายไฟควรจะกระจายน้ำหนักให้มีความสมดุล ไม่ให้เทน้ำหนักไปยังทางฝั่งใดฝั่งหนึ่ง ซึ่งจะส่งผลต